รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสังเกต
(
๑) แม้ไม่มีคำขอศาลก็ยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยได้เองตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๗๑/๒๕๔๘
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๗๑/๒๕๔๘ จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน ๑ คน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ตามมาตรา ๑๕๒๐ วรรคสอง และมาตรา ๑๕๒๒ วรรคสอง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
(
๒) ภายหลังผู้ที่ศาลสั่งให้มีอำนาจปกครองบุตรประพฤติตัวไม่สมควรหรือมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นได้
(
๓) มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งแม้จะไม่มีอำนาจปกครองบุตรแต่ก็มีสิทธิติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ตามมาตรา ๑๕๘๔/๑
๒. การอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า
-
การที่สามีและภริยาคู่หย่าทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าฝ่ายใดจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นเงินเท่าใดแล้ว หากต่อมาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ชำระตามที่ตกลงกันไว้ อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องเรียกให้จ่ายเงินดังกล่าวที่ค้างชำระตามสัญญา และที่จะต้องชำระต่อไปในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
-
กรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากคู่หย่าคนใดได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ไปจำนวนเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกให้ภริยาหรือสีอีกฝ่ายชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ตนได้ออกไปก่อนนับแตวันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะได้ เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้น
-
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ ๕ ปี นับแต่วันที่บิดามารดาหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียวก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไป ซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา ๑๙๓/๓๓ (๔) ประกอบมาตรา ๑๙๓/๑๒
๓. การเรียกค่าทดแทน
ในการที่ศาลพิพากษาให้สามีภริยาหย่าขาดจากกันเพราะเหตที่มีการล่วงเกินในทางประเวณีนั้น สามีหรือภริยาผู้เป็นโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ
๓.๑ ภริยาประพฤตินอกใจสามีโดยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องชายอื่นฉันสามี มีชู้หรือร่วมประเวณีกับชายอื่นเป็นอาจิณหรือมีการล่วงเกินกับชายอื่นในทำนองชู้สาว
๓.๒ สามีประพฤตินอกใจภริยาโดยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เป็นชู้ หรือร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณ หรือสามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นในทำนองชู้สาว
ข้อสังเกต ผู้เรียกค่าทดแทนจะต้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วย หากรู้เห้นเป็นใจด้วยก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ ตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคท้าย
๔. การเรียกค่าเลี้ยงชีพ
๔.๑ การหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายเดียวและการหย่านี้จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง หากประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๓ ประการ นี้ ก็เรียกค่าเลี้ยงชีพได้
(
๑) เหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายที่ถูกเรียกร้องแต่ฝ่ายเดียว
(
๒) การหย่านั้นจะทำให้คู่สมรสฝ่ายที่เรียกค่าเลี้ยงชีพต้องยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากแรงงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส
(
๓) คู่สมรสฝ่ายที่จะเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกค่าเลี้ยงชีพในคดีฟ้องหย่านั้น
๔.๒ กรณีการหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตหรือโรคติดต่ออย่างร้ายแรง
๔.๓ กรณีคู่หย่าตกลงชำระค่าเลี้ยงชีพกันเอง
ข้อสังเกต สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา ๑๕๒๖ ไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภริยากันตามมาตริ๑๔๖๙ สามีหรือภริยาจึงไม่มีสิทธิอ้างมาตรา ๑๔๖๙ มาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้ได้
๔.๔ การเลิกชำระค่าเลี้ยงชีพ
๔.๕ สิทธิที่จะได้รับค่าเลี้ยงชีพจะสละหรือโอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น