รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การจัดการสินส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๔๗๑/๒๕๓๓ ทรัพย์มรดกที่โจทก์ได้รับมาจากบิดาเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประทวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยืมาตรา ๑๔๗๑ (๓) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการจัดการสินส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องไปขอความยินยอมจากสามี


๒. สินสมรส (มาตรา ๑๔๗๔)
แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
-
ทรัพย์สินทั้งหมดที่สามีภริยาแต่ละฝ่ายทำมาหาได้ในระหว่างสมรสเป้นสินสมรสทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดได้มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่
-
ค่าสินไหมทดแทนกรณีถูกทำละเมิดแก่ร่างกายหรืออนามัยของคู่สมรส ถ้าหากได้มาระหว่างสมรสถือว่าเป็นสินสมรส แต่ถ้าได้มาหลังจากการสมรสสิ้นสุดลงแล้ว แม้จะฟ้องคดีไว้ก่อนก็ต้องถือว่าเป็นสินส่วนตัว
-
กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ก่อนสมรส (กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนทันทีเพราะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีผลให้กรรมสิทธิ์โอนทันที) ภายหลังสมรสแล้วจึงมีการโอนกรรมสิทธิ์กัน ดังนี้ ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรส
-
เงินค่าชดเชย เงินบำนาญที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรส
-
ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยเงินของตนเองก่อนสมรส แต่ถูกรางวัลเมื่อสมรสแล้ว เงินรางวัลเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส
๒.๒ ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป้นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
๒.๓ ดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินสมรส
-
ดอกผลที่เป็นสินสมรสได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
-
ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ดอกผลของที่ดิน จึงไม่เป็นสินสมรส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น