รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การสิ้นสุดแห่งความปกครองและความเป็นผู้ปกครอง



การสิ้นสุดแห่งความปกครอง (มาตรา ๑๕๙๘/๖)
ความปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้อยู่ในปกครองถึงแก่ความตายหรือผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้อยู่ในปกครองถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและศาลตั้งผู้อนุบาลให้แล้ว ความปกครองก็ย่อมสิ้นสุดด้วย เนื่องจากจะตกแก่ผู้อนุบาลแทน
การสิ้นสุดแห่งความเป็นผู้ปกครอง (มาตรา ๑๕๙๘/๗)
(
๑) ผู้ปกครองตาย
(
๒) ผู้ปกครองลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล ซึ่งการลาออกนี้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
(
๓) ผู้ปกครองถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(
๔) ผู้ปกครองถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย
(
๕) ผู้ปกครองถูกถอนโดยคำสั่งศาล
เหตุที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครอง (มาตรา ๑๙๘/๘)
(
๑) ผู้ปกครองละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่
(
๒) ผู้ปกครองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่
(
๓) ผู้ปคองใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
(
๔) ผู้ปกครองประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่
(
๕) ผู้ปกครองหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครอง
(
๖) ผู้ปกครองเป็นผู้ไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ หรือมีคดีในศาลกับผู้เยาว์หรือญาติสนิทของผู้เยาว์หรือเป็นผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้กำหนดในหนังสือระบุชื่อห้ามไว้ มิให้เป็นผู้ปกครอง

ผู้มีสิทธิในการร้องขอต่อศาล (มาตรา ๑๕๙๘/๙)
บุคคลที่จะมีสิทธิในการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนผู้ปกครองมีอยู่ ๓ คน ได้แก่
(
๑) ผู้อยู่ในปกครองซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ปีบริบูรณ์
(
๒) ญาติของผู้อยู่ในปกครอง
(
๓) อัยการ

ผลของการสิ้นสุดความปกครองและความเป็นผู้ปกครอง
๑. ผู้ปกครองต้องรีบส่งมอบทรัพย์สินและบัญชีให้ผู้อยู่ในปกครองหรือผู้ปกครองคนใหม่ (มาตรา ๑๕๙๘/๑๑)
๒. หากผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองมีเงินที่จะต้องคืนแก่กันแต่ไม่ได้คืน ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยให้กันด้วย (มาตรา ๑๕๙๘/๑๒)

ที่มา : http://www.siamjurist.com/forums/1587.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น