รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสังเกต
(
๑) แม้คู่สมรสอีกฝ่ายจะสุจริตโดยไม่ทราบว่ามีการสมรสเดิมอยู่แล้วก็ตาม การสมรสนั้นก็ยังต้องเป็นโมฆะอยู่
(
๒) คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น ก่อนที่จะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
(
๓) กรณีชายหรือหญิงมีคู่สมรสแล้ว แต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ชายหรือหญิงนั้นไม่อาจสมรสใหม่ได้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะเสียก่อน
๖. ชายหรือหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน หากไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสกันจริงๆ การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างชายหรือหญิงนั้นเป็นโมฆะได้ตามมาตรา ๑๔๙๖ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๒๗/๒๕๓๖ เมื่อคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่ปรากฏในสำนวนคดีแพ่งได้ เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ ๒ ยังอยู่กินฉันสามีภรรยากับนายบ.ส่วนจำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปขอจดทะเบียนสมรสโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่ามีเจตนาจะสมรสกันและต่างไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อนจึงผิดไปจากเจตนาที่แท้จริง และไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๘ โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะได้
๗. หญิงหม้ายจะสามารถใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสเดิมได้ล่วงพ้นไปเสียก่อน (มาตรา ๑๔๕๓) แต่มีข้อยกเว้นให้หญิงหม้ายทำการสมรสได้ ๔ ประการคือ
(
๑) หญิงนั้นได้คลอดบุตรแล้ว
(
๒) หญิงนั้นสมรสกับสามีคนก่อน
(
๓) มีใบรับรองแพทย์ว่าหญิงนั้นมิได้ตั้งครรภ์
(
๔) มีคำสั่งศาลให้หญิงนั้นทำการสมรสได้
การสมรสที่ฝ่าฝืนนี้สมบูรณ์และบุตรที่เกิดมาภายใน ๓ๆ วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ตามมาตรา ๑๕๓๗
๘. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
การให้ความยินยอมมีอยู่ ๓ วิธีคือ
(
๑) ผู้ให้ความยินยอมลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้เป็นหลักฐานไว้
(
๒) ทำหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้สมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอมไว้ด้วย
(
๓) เมื่อมีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนก็ได้
ข้อสังเกต กรณีบิดามารดาทำหนังสือให้ความยินยอมต่อมาบิดาหรือมารดาเสียชีวิตไปก่อน เช่นนี้ก็สามารถใช้หนังสือยินยอมนั้นไปจดทะเบียนได้ แต่ถ้าตายทั้งคู่ถือว่าหนังสือให้ความยินยอมสิ้นผล ต้องไปขอความยินยอมใหม่จากผู้ปกครองหรือขออนุญาตศาลให้ทำการสมรส
กรณีที่ฝ่าฝืนโดยทำการสมรสปราศจากความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง การสมรสนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามมาตรา ๑๕๐๙

แบบของการสมรส
การสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น เมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วก็เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายทันทีตามมาตรา ๑๔๕๗

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยามี ๒ ประการ คือ
๑. ความสัมพันธ์ในการส่วนตัว
๒. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน

๑. ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว
๑.๑ สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามมาตรา ๑๔๖๑
การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน หมายถึง การช่วยปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ด้วยความผาสุก
การอุปการะเลี้ยงดู หมายถึง การให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีพ ข้อความในสัญญาจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือระบุให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นบังคับในเรื่องทรัพย์สิน หากฝ่าฝืนเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๖๕ วรรคสอง
-
สัญญาก่อนสมรสทำได้แต่เฉพาะเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเท่านั้น จะทำเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินไม่ได้ เรื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๑.๓ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
๑.๔ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
ของแทนสินส่วนตัว
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น