รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลของการถอนอำนาจปกครอง
๑. มารดาหรือบิดาที่ยังเหลืออยู่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองในส่วนนั้นต่อไปโดยลำพังแต่เพียงผู้เดียว
๒. การถอนอำนาจปกครองมีผลเพียงทำให้บิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองจะใช้อำนาจปกครองไม่ได้อีกต่อไปเท่านั้น แต่หน้าที่ของบิดามารดาที่จำต้องให้ความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ยังคงมีอยู่ต่อไปดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
๓. บิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
การคืนอำนาจปกครอง (มาตรา ๑๕๘๓)
บิดาหรือมารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองหรือญาติของบุตรผู้เยาว์มีสิทธิมาร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้มีอำนาจปกครองดังเดิมได้
ข้อสังเกต อัยการไม่มีอำนาจร้องขอให้คืนอำนาจปกครองแม้จะมีอำนาจร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองก็ตาม


ผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง
เหตุผลและวิธีการตั้งผู้ปกครอง
ผู้ปกครองตั้งขึ้นได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคน โดยอาจจะถูกถอนอำนาจปกครองทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อสังเกต ต้องแน่ชัดว่าไม่มีบิดามารดาจริงๆ ทั้งสองคน เช่น บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่น ยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้
วิธีในการตั้งผู้ปกครอง (มาตรา ๑๕๘๖)
๑. ญาติของผู้เยาว์หรืออัยการเป็นผู้ร้องขอตั้งศาล
ข้อสังเกต
(
๑) ศาลมีคำสั่งเองไม่ได้ญาติของผู้เยาว์หรืออัยการต้องเป็นผู้ร้องขอ
(
๒) ผู้ร้องขอจะต้องระบุเหตุในการขอตั้งผู้ปกครองด้วย
(
๓) ญาติต้องเป็นญาติตามกฎหมายจะเป็นญาติสนิทหรือญาติห่างก็ได้
๒. ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้ร้องขอ

คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้ปกครอง
บุคคลที่จะเป็นผู้ปกครองได้จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น และจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าเป็นนิติบุคคลไม่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครอง ซึ่งในมาตรา ๑๕๘๗ กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้มิให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง
(
๑) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(
๒) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
(
๓) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
(
๔) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
(
๕) ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
ข้อสังเกต
ก. ไม่จำกัดคดีอาจเป็นคดีแพ่ง คดีอาญาหรือคดีล้มละลายก็ได้
ข. บุพการีหมายถึงบุพการีโดยชอบด้วยกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น