รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อายุความฟ้องหย่า
๑. กรณีเหตุหย่าบางเหตุซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อันได้แก่ อุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว หรือทรมานจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออุปการระเลี้ยงดูกันหรือกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป้นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง กำหนดอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทิฟ้องหย่าได้รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
๒. กรณีเหตุหย่าที่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวร เช่น ถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ หรือเป้นดรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น ไม่มีอายุความ ตราบใดที่มีเหตุนั้นก็ฟ้องหย่าได้
๓. กรณีผิดทัณฑ์บนไม่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่อง กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้ แต่ให้ใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐

การขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีฟ้องหย่า ได้ในเรื่อง
(
๑) สินสมรส
(
๒) ที่พักอาศัย
(
๓) การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา
(
๔) การพิทักษ์อุปการะเลี้ยงดูบุตร
นอกจากเรื่องทั้ง ๔ เรื่องข้างต้นแล้ว อาจขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อคุ้มครอง
ประโยชน์ของตนได้อีกตามที่ศาลเห็นสมควร

ผลของการหย่า
๑. การใช้อำนาจปกครองบุตรหลังการหย่า (มาตรา ๑๕๒๐) แบ่งออกเป็น ๒ กรณี
๑.๑ กรณีการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย เป็นไปตามข้อตกลงว่าใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรโดยข้อตกลงดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ จะตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้
๑.๒ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ศาลเป็นผู้ชี้ขาดว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร โดยต้องคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป้นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น