รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


อายุความ (มาตรา ๑๕๘๑)
๑. ห้ามฟ้องคดีเมื่อพ้น ๑ ปี นับแต่เวลาที่อำนาจปกครองระงับสิ้นไป
ข้อสังเกต อำนาจปกครองบุตรสิ้นไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
(
๑) บุตรผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ (สมรสหรืออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์)
(
๒) บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองถึงแก่ความตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือมีการรับบุตรบุญธรรม
๒. ถ้าเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน ก็ไม่ใช่อายุความ ๑ ปี ตามมาตรา ๑๕๘๑ แต่ใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐


การถอนอำนาจปกครอง
เหตุในการถอนอำนาจปกครอง
ศาลอาจมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้โดยจะสั่งถอนเองหรือจะสั่งเมื่อถูกญาติของบุตรผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอ ซึ่งเหตุในการถอนอำนาจปกครองมี ๓ กรณี คือ
(
๑) บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(
๒) บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวบุตรผู้เยาว์โดยมิชอบ
(
๓) บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติชั่วร้าย
ข้อสังเกต นอกจากเหตุถอน ๓ กรณี ข้องต้นแล้ว มาตรา ๑๕๘๒ วรรคสอง ยังกำหนดเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ได้อีกใน ๒ กรณีคือ
ก. บิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนล้มละลาย
ข. บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ในทางผิดจนอาจเป็นภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น