รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



ข้อสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๔ วรรคสอง)
กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินเป็นสินสมรสหรือไม่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่าเป็นสินส่วนตัวก็จะอ้างข้อสันนิษฐานนี้ไม่ได้
ตัวอย่าง ที่ดินและบ้านที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ถ้าฝ่ายหนึ่งได้นำเงินสินส่วนตัวมาชำระเป็นเงินดาวน์บางส่วนรวมกับเงินสินสมรส เมื่อไม่อาจแยกได้ว่าเป็นเงินสินส่วนตัวจำนวนเท่าใด ถือว่าที่ดินและบ้านเป็นสินสมรสเต็มจำนวน
ทรัพย์สินของสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่เป็นสินสมรส แต่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีภริยา

สามีหรือภริยาขอลงชื่อรวมในสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๕)
-
การร้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันในสินสมรส จำกัดแต่เฉพาะสินสมรสตามมาตรา ๔๕๖ อันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เป็นต้น
-
สิทธิขอลงชื่อร่วมในเอกสารตามมาตรา ๑๔๗๕ เป็นสิทธิเฉพาะคู่สมรส
-
เงินฝากในธนาคารถือได้ว่าเป็นสินสมรสจำพวกที่มีเอกสารเป็นสำคัญ จึงร้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมในเอกสารได้ แต่ทะเยีนรถยนต์ น.ส.๓ และใบไต่สวน ไม่ใช่เอกสารสำคัญ จึงจะร้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมไม่ได้

การจัดการสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๖)
โดยหลักแล้วสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจในการจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่การจัดการที่สำคัญเท่านั้นที่สามีและภริยาจะต้องดำเนินการร่วมกัน ซึ่งมีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพยืที่อาจจำนองได้
๒. ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งภาระจำนอง สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
๓. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน ๓ ปี
๔. ให้กู้ยืมเงิน (แสดงว่าสามีหรือภริยาสามารถกู้ยืมเงินบุคคลอื่นได้โดยลำพัง)
๕. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
๖. ประนีประนอมยอมความ
๗. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลากการวินิจฉัย
๘. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
ข้อสังเกต สามีภริยาจะตกลงกันในระหว่างสมรสเพื่อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั้ง ๘ ประการข้างต้นไม่ได้ตามมาตรา ๑๔๗๖/๑ so-f� e s - 0�� `�� EN-US;mso-bidi-language:TH'>๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(
๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(
๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ

ตัวอย่างพฤติการณ์ที่เป็นการประพฤติชั่ว
๑. สามีใช้กำลังบังคับข่มขืนใจให้ลูกจ้างยินยอมร่วมประเวณี
๒. สามีชอบเล่นการพนันภริยาห้ามไม่เชื่อ นำทรัพย์สินในบ้านไปจำนำเพื่อเล่นการพนัน เคยถูกต้องคำพิพากษาลงโทษเพราะเล่นการพนัน ถูกผู้บังคับบัยชาเรียกไปตักเตือนและยังไม่เลิกเล่น บางครั้งทำให้เงินไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว เหตุเหล่านี้มารวมประกอบกันเป็นพฤติการณ์ประพฤติชั่วได้
๓. สามีดื่มสุราเป้นอาจิณและทำร้ายร่างกายภริยาบ่อยครั้งเมื่อมึนเมาสุรา
๔. เป็นข้าราชการแต่ไปเที่ยวหญิงบริการโดยถ่ายภาพไว้
๕. สามีหรือภริยาแยกกันอยู่โดยภริยาเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่ด้วยกันกับชายอื่นและไปไหนด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น