รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การหมั้น



การหมั้น
เงื่อนไขของการหมั้น มีอยู่ ๒ ประการ
๑. อายุของคู่หมั้น (มาตรา ๑๔๓๕) ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุอ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ
๒. ความยินยอมของบิดามารดา (ได้รับความยินยอมทั้งบิดาและมารดาแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๔๓๖) การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเป็นโมฆียะ

แบบของสัญญาสัญญาหมั้น
หลัก การหมั้นต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ (มาตรา ๑๔๓๗)
การหมั้น จะต้องเป็นการที่มีการนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง แต่หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที

กรณีของหมั้นเป็นขอบบุคคลภายนอกมีข้อพิจารณา ดังนี้
(
๑) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้นและเจ้าของไม่ยินยอมอนุญาตให้ยืมเอาไปเป็นของหมั้น เจ้าของนั้นมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา ๑๓๓๐ แต่ถ้าเป้นเงินตราและหญิงคู่หมั้นรับไว้โดยสุจริตแล้ว เจ้าของเงินตรามาเอาคืนไม่ได้ เพราะสิทธิของหญิงคู่หมั้นที่ได้เงินตรามาโดยสุจริตไม่เสียไปตามมาตรา ๑๓๓๑
(
๒) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้น เจ้าของทรัพย์สินให้ยืมไปทำการหมั้น แม้จะตกลงให้ยืมชั่วคราว เมื่อหญิงไม่รู้เรื่องด้วยแล้ว ของหมั้นนั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิงคู่หมั้น
ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายยกให้หญิงไม่ใช่ในฐานะเป็นสินสอดหรือของหมั้น หากหญิงผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน

ลักษณะสำคัญของของหมั้น
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน
๒. ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
๓. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
๔. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมมรส (ถ้าให้หลังสมรสก็ไม่ใช่ของหมั้น)

คู่สํญญาที่จะต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น
๑. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น
๒. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น
๓. บุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น

สินสอด
ลักษณะของสินสอด
(
๑) ต้องเป็นทรัพย์สิน
(
๒) ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง
(
๓) ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
สินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงทำการหมั้นและสมรสกันได้โดยไม่ต้องมีสินสอด แต่ถ้าได้มีการตกลงกันว่าจะให้สินสอดแก่กัน ฝ่ายหญิงย่อมฟ้องเรียกสินสอดได้
การที่หญิงยอมสมรสถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ดังนั้น ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเรียกสินสอดกันได้ใน ๒ กรณี
๑. กรณีไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง
๒. กรณีไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากกรณีที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นตายก่อนจดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอด (มาตรา ๑๔๔๑)
อายุความฟ้องเรียกสินสอดคืนใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐

วิธีการในการคืนของหมั้น
๑. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนเงินเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกคืนโดยสุจริต (มาตรา ๔๑๒) ดังนั้น การคืนเงินตราจึงคืนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ประโยชน์หรือดอกเบี้ยเพิ่มพูนจากการที่นำเงินนั้นไปลงทุนจึงไม่ต้องคืน แต่ฝ่ายชายอาจเรียกดอกเบี้ยในเงินต้นได้นับแต่วันฟ้องคดีเพราะถือว่าฝ่ายหญิงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาที่เรียกคืนนั้นแล้ว
๒. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงต้องคืนทรัพย์สินในสภาพที่เป็นสภาพที่เป็นอยู่ ณ เวลาที่เกรียกคืน ดังนั้น หากทรัพย์สินสูญหายหรือบุบสลายก็ไม่ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องหรือบุบสลายนั้น และหากทรัพย์สินนั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเพราะฝ่ายหญิงได้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายนันจากฝ่ายชายได้ด้วย 
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว
การผิดสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
๑. การหมั้นไม่เป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้สมรสได้
๒. เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นจะต้องรับผิดชดใช้ค่าทดแทนกันตามมาตรา ๑๔๓๙ โดยเรียกค่าทดแทนตามมาตรา ๑๔๔๐ ดังนั้น ค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นจะมีได้เฉพาะที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๔๔๐ ใน ๓ กรณี คือ
๒.๑ ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายและหญิงนั้น
๒.๒ ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นเดียวกับบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
๓. ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นเกี่ยวแก่อาชีพหรือการทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

ถ้าชายผิดสัญญาหมั้น หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น แต่หากหญิงผิดสัญญาหมั้น หญิงก็ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย
(
๑) ฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น มีข้อน่าสังเกตว่า ศาลมีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมดหรือจะให้เป้นส่วนหนึ่งของค่าทดแทน หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนแก่หญิงทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงก็ได้ตามมาตรา ๑๔๔๐ วรรคท้าย
(
๒) ฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น มีข้อน่าสังเกตว่า กรณีหญงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย ถ้าหญิงจะสู่คดีว่าไม่ต้องคืนของหมั้นหญิงจะต้องอ้างว่าได้ใช้เงินไปหมดแล้วหรือขายทรัพย์นั้นไปแล้ว จึงไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย

การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
๑. คู่สัญญาหมั้นทั้ง ๒ ฝ่าย ตกลงยินยอมเลิกสัญญา
-
ตกลงกันด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
-
ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย
-
คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยจะเรียกค่าทดแทนอะไรจากกันไม่ได้
๒. ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตาย
-
การตายไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาหมั้น
-
หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นหรือสินสอด แม้ความตายจะเกิดจากการฆ่าตัวตายหรือถูกอีกฝ่ายจงใจฆ่าตายก็ตาม
-
ความตายที่ว่านี้ไม่รวมถึงการสาบสูญ
๓. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น
-
ใช้เหตุเดียวกับเหตุหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ ส่วนเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุหย่าก็ถือเป็นเหตุสำคัญได้ เช่น คู่หมั้นถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย หรือถูกศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นต้น
-
โดยหลักแล้วไม่ว่าฝ่ายชาหรือหญิงเลิกสัญญาหมั้นเพราะเหตุสำคัญอันเกิดจากหญิงหรือชายคู่หมั้น ฝ่ายชายหรือหญิงจะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ แต่หากเหตุที่เกิดปก่คู่หมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นฝ่ายนั้นตามมาตรา ๑๔๔๔ ยกเว้นไว้ว่าคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
๓.๑ ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น เช่น หญิงยินยอมให้ชายอื่นร่วมประเวณีในระหว่างการหมั้น หญิงวิกลจริตหรือได้รับอันตรายสาหัสจนพิการ หรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น ผลคือ ชายเรียกของหมั้นคืนได้และหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย
๓.๒ หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายไร้สมรรถภาพทางเพศ เป็นคนวิกลจริตหรือพิการ เป็นนักโทษและกำลังรับโทษอยู่ ร่วมประเวณีกับหญิงอื่น ไปเป็นชู้กับภริยาคนอื่น ข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่น เป็นต้น นอกจากนี้แม้เหตุสำคัญดังกล่าวจะมาจากความผิดของหญิงคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ผลของการบอกเลิกสัญญาหมั้นหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชาย
ค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น
๑. ค่าทดแทนที่คู่หมั้นเรียกจากกันในกรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น
เหตุที่ทำให้ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนจะต้องเกิดขึ้นหลังการหมั้น หากเกิดขึ้นก่อนทำสัญญาหมั้นก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ คู่สัญญาหมั้นมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างว่ามีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้น จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
๒. ค่าทดแทนจากชายอื่นหรือหญิงอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นหรือชายคู่หมั้นทางประเวณี
๒.๑ กรณีที่คู่หมั้นยินยอมร่วมประเวณีกับชายอื่นหรือหญิงอื่นนั้น
(
๑) เรียกค่าทดแทนได้ต่อเมื่อชายหรือหญิงคู่หมั้นได้ บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา ๑๔๔๒ หรือมาตรา ๑๔๔๓ แล้ว
(
๒) ชายอื่นหรือหญิงอื่นจะต้องรู้หรือควรรู้ว่าชายหรือหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว
ข้อสังเกต
ก. กรณีหญิงคู่หมั้นร่วมประเวณีกับชายอื่น นอกจากชายคู่หมั้นจะมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นได้แล้ว อาจเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นได้โดยอ้างเหตุว่าเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง
ข. หญิงคู่หมั้นเพียงแต่ยินยอมให้กอดจูบลูบคลำยังไม่ถึงขั้นให้ร่วมประเวณี ชายคู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นไม่ได้ แต่อาจเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นได้ โดยถือว่าเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง
๒.๒ กรณีบุคคลอื่นข่มขืนหรือพยายามข่มขืนการกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นหรือชายคู่หมั้น
(
๑) คู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นด้วย
(
๒) ไม่ใช่เป็นเรื่องของการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง คู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นหรือชายคู่หมั้นไม่ได้ตามมาตรา ๑๔๔๔ ไม่ได้
(
๓) คู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากบุคคลอื่นที่มาข่มขืนหรือพยายามข่มขืนคู่หมั้นตนได้ บุคคลอื่นนั้นจะต้องรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงหรือชายมีคู่หมั้นแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคู่หมั้นเป็นใคร

ข้อสังเกต การเรียกค่าทดแทนจากบุคคลอื่นที่มาล่วงเกินคู่หมั้นทางประเวณีตามมาตรา ๑๔๔๕ และ ๑๔๔๖ หมายความเฉพาะเพศตรงข้ามกับชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้น (แสดงว่าไม่ถือตามประมวลกฎหมายอาญา)
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนในเรื่องการหมั้น นอกจากค่าทดแทนตามมาตรา ๑๔๔๐ (๒) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือหรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
อายุความในเรื่องการหมั้นกฎหมายกำหนดไว้เพียง ๖ เดือน นับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เป็นต้นไป แต่การเรียกร้องสินสอดคืน กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้ จึงใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามหลักกฎหมายทั่วไป

การสมรส
หลักเกณฑ์การสมรส มีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเปินหญิง
๒. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายและหญิงสมรสกันโดยไม่ได้เกิดจากความยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
๓. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต
๔. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว

งื่อนไขการสมรส
๑. ชายและหญิงต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็น
โมฆียะตามมาตรา ๑๕๐๓
๒. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
๓. ญาติสนิทสมรสกันไม่ได้ ญาติสนิทมี ๔ ประเภท คือ
(
๑) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
(
๒) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
(
๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(
๔) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา
ผลของการฝ่าฝืนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
ข้อสังเกต ญาติสนิทถือตามความเป็นจริง
๔. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นก็ยังคงสมบูรณ์ มีผลเพียงการรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตามมาตรา ๑๔๕๑ เท่านั้น
๕. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนเป้นการสมรสซ้อนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ 
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว
ข้อสังเกต
(
๑) แม้คู่สมรสอีกฝ่ายจะสุจริตโดยไม่ทราบว่ามีการสมรสเดิมอยู่แล้วก็ตาม การสมรสนั้นก็ยังต้องเป็นโมฆะอยู่
(
๒) คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น ก่อนที่จะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
(
๓) กรณีชายหรือหญิงมีคู่สมรสแล้ว แต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ชายหรือหญิงนั้นไม่อาจสมรสใหม่ได้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะเสียก่อน
๖. ชายหรือหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน หากไม่มีเจตนาที่จะทำการสมรสกันจริงๆ การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ และบุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างชายหรือหญิงนั้นเป็นโมฆะได้ตามมาตรา ๑๔๙๖ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๒๗/๒๕๓๖ เมื่อคดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสของจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาและมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่ปรากฏในสำนวนคดีแพ่งได้ เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ ๒ ยังอยู่กินฉันสามีภรรยากับนายบ.ส่วนจำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันไปขอจดทะเบียนสมรสโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่ามีเจตนาจะสมรสกันและต่างไม่เคยมีคู่สมรสมาก่อนจึงผิดไปจากเจตนาที่แท้จริง และไม่น่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๘ โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะได้
๗. หญิงหม้ายจะสามารถใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสเดิมได้ล่วงพ้นไปเสียก่อน (มาตรา ๑๔๕๓) แต่มีข้อยกเว้นให้หญิงหม้ายทำการสมรสได้ ๔ ประการคือ
(
๑) หญิงนั้นได้คลอดบุตรแล้ว
(
๒) หญิงนั้นสมรสกับสามีคนก่อน
(
๓) มีใบรับรองแพทย์ว่าหญิงนั้นมิได้ตั้งครรภ์
(
๔) มีคำสั่งศาลให้หญิงนั้นทำการสมรสได้
การสมรสที่ฝ่าฝืนนี้สมบูรณ์และบุตรที่เกิดมาภายใน ๓ๆ วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ตามมาตรา ๑๕๓๗
๘. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
การให้ความยินยอมมีอยู่ ๓ วิธีคือ
(
๑) ผู้ให้ความยินยอมลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้เป็นหลักฐานไว้
(
๒) ทำหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้สมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอมไว้ด้วย
(
๓) เมื่อมีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนก็ได้
ข้อสังเกต กรณีบิดามารดาทำหนังสือให้ความยินยอมต่อมาบิดาหรือมารดาเสียชีวิตไปก่อน เช่นนี้ก็สามารถใช้หนังสือยินยอมนั้นไปจดทะเบียนได้ แต่ถ้าตายทั้งคู่ถือว่าหนังสือให้ความยินยอมสิ้นผล ต้องไปขอความยินยอมใหม่จากผู้ปกครองหรือขออนุญาตศาลให้ทำการสมรส
กรณีที่ฝ่าฝืนโดยทำการสมรสปราศจากความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง การสมรสนั้นย่อมเป็นโมฆียะตามมาตรา ๑๕๐๙

แบบของการสมรส
การสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น เมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วก็เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายทันทีตามมาตรา ๑๔๕๗

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยามี ๒ ประการ คือ
๑. ความสัมพันธ์ในการส่วนตัว
๒. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน

๑. ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว
๑.๑ สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามมาตรา ๑๔๖๑
การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน หมายถึง การช่วยปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ด้วยความผาสุก
การอุปการะเลี้ยงดู หมายถึง การให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีพ ข้อความในสัญญาจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือระบุให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นบังคับในเรื่องทรัพย์สิน หากฝ่าฝืนเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๖๕ วรรคสอง
-
สัญญาก่อนสมรสทำได้แต่เฉพาะเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเท่านั้น จะทำเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินไม่ได้ เรื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๑.๓ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
๑.๔ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
ของแทนสินส่วนตัว
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว
ข้อสังเกต
(
๑) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจะสละหรือโอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดี เช่น แม้สามีภริยาทำสัญญาแยกกันอยู่โดยภริยาระบุไม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ภริยายังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
(
๒) กรณีบุคคลภายนอกทำละเมิดต่อสามีหรือภริยาได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย สามีหรือภริยาอีกฝ่ายย่อมถูกกระทบกระเทือนสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำละเมิดในค่าสินไหมทดแทน เพื่อการขาดแรงงานและค่าสินไหมทดแทนเพื่อการอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา ๔๔๕ และ ๔๔๓
(
๓) การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายต้องนำสืบให้ได้ว่าอีกฝ่ายมีความสามารถและฐานะดีกว่าตนเพียงใด และมีรายได้เกินรายได้ของอีกฝ่ายเพียงใด เพราะหากนำสืบไม่ได้ศาลอาจไม่ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
๑.๒ แยกกันอยู่ชั่วคราว
(
๑) สามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหาก
-
ทำข้อตกลงกันด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
-
สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างหมดหน้าที่จะต้องอยู่ด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป แต่สถานะสามีภริยายังคงมีอยู่ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง แต่หากแยกกันอยู่เกิน ๓ ปี อาจมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔) (๔๑๒)
(
๒) ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป้นการชั่วคราว เหตุที่จะฟ้องขอให้ศาลอนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราว มี ๔ กรณี คือ
(
๒.๑) สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
(
๒.๒) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา
(
๒.๓) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา
(
๒.๔) การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุกอย่างมากของสามีหรือภริยา
๑.๓ การเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ให้คู่สมรสที่ตกเป็นคนวิกลจริตจนถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถตามมาตรา ๑๔๖๓
๑.๔ การซื่อสัตย์ในความรักต่อกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางชู้สาว หากภริยามีชู้สามีมีสิทธิฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชายชู้ได้ และหากสามีมีภริยาน้อยหรือร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณ ภริยามีสิทธิฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากสามีและภริยาน้อยได้เช่นเดียวกัน จะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาน้อยโดยไม่ต้องฟ้องหย่าสามีก็ได้
๑.๕ การใช้คำนำหน้านามและชื่อสกุลของหญิงมีสามี
หญิงเมื่อจะทำการสมรสมีสิทธิเลือกใช้คำนำหน้านามว่า นางหรือ นางสาวก็ได้ และคู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันหรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตนก็ได้
๑.๖ สัญชาติและภูมิลำเนาของสามีภริยา
การสมรสไม่ทำให้ได้สัญชาติไทย แต่อาจร้องขอสัญชาติโดยแปลงสัญชาติได้
สามีภริยามีภูมิลำเนาอยู่ที่เดียวกัน ณ ถิ่นที่อยู่ด้วยกันตามมาตรา ๔๓

๒. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน
๒.๑ สัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน
-
ก่อนจดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นการยกเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔๖๕-๑๔๙๓ ก็ได้ ตามมาตรา ๑๔๖๕
-
ถ้าได้ทำสัญญาก่อนสมรสยกเว้นไว้ว่าให้สามีมีอำนาจขายที่ดินสินสมรสได้โดยลำพังก็สามารถทำได้
-
ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน ถ้าเป็นการกำหนดว่า ถ้าชายหญิงหย่าขาดจากกันให้สินสมรสทั้งหมดเป็นของหญิงฝ่ายเดียวโดยชายไม่มีสิทธิได้สินสมรสสัญญาดังกล่าวก็จะใช้บังคับไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินแต่เป็นเรื่องการแบ่งสินสมรสหลังการหย่า
-
ข้อความในสัญญาจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือระบุให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นบังคับในเรื่องทรัพย์สิน หากฝ่าฝืนเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๖๕ วรรคสอง
-
สัญญาก่อนสมรสทำได้แต่เฉพาะเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเท่านั้น จะทำเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินไม่ได้ เรื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๑.๓ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
๑.๔ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
ของแทนสินส่วนตัว
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว
- การทำสัญญาก่อนสมรสอาจจะดำเนินการได้ดังนี้
(
๑) จดแจ้งสัญญาไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ
(
๒) ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อย ๒ คน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส พร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรสในขณะจดทะเบียนสมรสว่ามีสัญญาแนบท้าย
ถ้าไม่ทำตามแบบที่กำหนด สัญญานั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๖๖
-
การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสจะทำไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากศาล หากฝ่าฝืนก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรสนั้นแต่อย่างใด และแม้จะมีข้อตกลงในสัญญาก่อนสมรสโดยชัดแจ้งให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนได้ ข้อตกลงดังกล่าวก็ใช้บังคับไม่ได้เพราะขัดต่อมาตรา ๑๔๖๗
-
การเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล จำกัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาภายหลังเมื่อทำการสมรสแล้ว ถ้าก่อนการสมรสคู่สมรสต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลแต่อย่างใด
-
ผลสัญญาก่อนสมรสต่อบุคคลภายนอก ให้ถือตามระบบทรัพย์สินของสามีภริยาตามกฎหมายเช่นกรณีปกติตามมาตรา ๑๔๖๘
๒.๒ สัญญาระหว่างสมรสในเรื่องทรัพย์สิน
-
การทำสัญญาระหว่างสมรสไม่ได้กำหนดแบบไว้เป็นพิเศษเหมือนกับสัญญาก่อนสมรส
-
ห้ามทำสัญญาระหว่างสมรสในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสที่สำคัญที่สามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกัน เช่น สามีและภริยาจะทำสัญญาระหว่างสมรสให้ภริยามีอำนาจจำนองที่ดินที่เป็นสินสมรสแต่ผู้เดียวอันแตกต่างจากมาตรา ๑๔๗๖ ไม่ได้ สัญญาดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ เป็นต้น
-
สามีหรือภริยาบอกล้างสัญญาได้ แต่จะบอกล้างได้เฉพาะสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น โดยจะต้องบอกล้างในเวลาที่เป็นสามีภริยาหันอยู่หรือภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยทุจริต
-
สัญญาที่ไปเกี่ยวกับทรัพย์สินอาจเสื่อมเสียไปด้วยเหตุอื่นตามหลักในสัญญาทั่วไป เช่น เป็นโมฆียะเพราะสำคัญผิด เป็นต้น
-
แม้สัญญานั้นจะได้ทำมาเกิน ๑๐ ปีแล้ว สามีหรือภริยาก็ยังมีสิทธิบอกล้างได้
-
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิบอกล้างไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมรดกผู้ตาย ทายาทจึงไม่มีสิทธิบอกล้าง
-
ผลของการบอกล้างในระหว่างสามีภริยาทำให้สัญญานั้นสิ้นความผูกพันเสมือนหนึ่งว่าสามีภริยาไม่เคยทำสัญญาไว้ต่อกันเลย จะบังคับกันไม่ได้ถ้าได้มีการโอนทรัพย์สินกันไปแล้วก็ต้องโอนกลับคืน และถ้ามีการจดทะเบียนก็ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนด้วย แต่การบอกนั้นกระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต โดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๓๙/๒๕๔๔ บันทึกที่โจทก์จำเลยทำขึ้น แม้จะมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อข้อตกลงนั้นมีส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยาหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๙ การที่จำเลยยื่นคำให้การว่าบอกเลิกข้อตกลงแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างไปในตัว ในขณะยังเป็นสามีภริยากันอยู่ จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
๒.๓ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
(
๑) สินส่วนตัว (ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)
(
๒) สินสมรส (ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคู่สมรสทั้งสองฝ่าย)


๑. สินส่วนตัว (มาตรา ๑๔๗๑)
แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑.๑ ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
-
ได้ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนสมรส แม้จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ภายหลังสมรสแล้วก็ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ จึงถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัว
-
ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาร่วมกันก่อนสมรส แม้สมรสแล้วก็ไม่ทำให้เป็นสินสมรสแต่อย่างใด แต่คงเป็นสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม
-
ทรัพย์สินที่คู่สมรสเป็นเจ้าของรวมกับคนอื่นอยู่ก่อนสมรส แม้จะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกับเจ้าของรวมคนอื่นในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น
๑.๒ ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๑.๓ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
๑.๔ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
ของแทนสินส่วนตัว
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว

การจัดการสินส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๔๗๑/๒๕๓๓ ทรัพย์มรดกที่โจทก์ได้รับมาจากบิดาเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประทวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยืมาตรา ๑๔๗๑ (๓) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการจัดการสินส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องไปขอความยินยอมจากสามี


๒. สินสมรส (มาตรา ๑๔๗๔)
แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
-
ทรัพย์สินทั้งหมดที่สามีภริยาแต่ละฝ่ายทำมาหาได้ในระหว่างสมรสเป้นสินสมรสทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดได้มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่
-
ค่าสินไหมทดแทนกรณีถูกทำละเมิดแก่ร่างกายหรืออนามัยของคู่สมรส ถ้าหากได้มาระหว่างสมรสถือว่าเป็นสินสมรส แต่ถ้าได้มาหลังจากการสมรสสิ้นสุดลงแล้ว แม้จะฟ้องคดีไว้ก่อนก็ต้องถือว่าเป็นสินส่วนตัว
-
กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ก่อนสมรส (กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนทันทีเพราะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีผลให้กรรมสิทธิ์โอนทันที) ภายหลังสมรสแล้วจึงมีการโอนกรรมสิทธิ์กัน ดังนี้ ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรส
-
เงินค่าชดเชย เงินบำนาญที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรส
-
ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยเงินของตนเองก่อนสมรส แต่ถูกรางวัลเมื่อสมรสแล้ว เงินรางวัลเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส
๒.๒ ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป้นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
๒.๓ ดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินสมรส
-
ดอกผลที่เป็นสินสมรสได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
-
ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ดอกผลของที่ดิน จึงไม่เป็นสินสมรส


ข้อสันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๔ วรรคสอง)
กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินเป็นสินสมรสหรือไม่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่าเป็นสินส่วนตัวก็จะอ้างข้อสันนิษฐานนี้ไม่ได้
ตัวอย่าง ที่ดินและบ้านที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ถ้าฝ่ายหนึ่งได้นำเงินสินส่วนตัวมาชำระเป็นเงินดาวน์บางส่วนรวมกับเงินสินสมรส เมื่อไม่อาจแยกได้ว่าเป็นเงินสินส่วนตัวจำนวนเท่าใด ถือว่าที่ดินและบ้านเป็นสินสมรสเต็มจำนวน
ทรัพย์สินของสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่เป็นสินสมรส แต่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีภริยา

สามีหรือภริยาขอลงชื่อรวมในสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๕)
-
การร้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันในสินสมรส จำกัดแต่เฉพาะสินสมรสตามมาตรา ๔๕๖ อันได้แก่ อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เป็นต้น
-
สิทธิขอลงชื่อร่วมในเอกสารตามมาตรา ๑๔๗๕ เป็นสิทธิเฉพาะคู่สมรส
-
เงินฝากในธนาคารถือได้ว่าเป็นสินสมรสจำพวกที่มีเอกสารเป็นสำคัญ จึงร้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมในเอกสารได้ แต่ทะเยีนรถยนต์ น.ส.๓ และใบไต่สวน ไม่ใช่เอกสารสำคัญ จึงจะร้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมไม่ได้

การจัดการสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๖)
โดยหลักแล้วสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจในการจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่การจัดการที่สำคัญเท่านั้นที่สามีและภริยาจะต้องดำเนินการร่วมกัน ซึ่งมีอยู่ ๘ ประการ คือ
๑. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพยืที่อาจจำนองได้
๒. ก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งภาระจำนอง สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
๓. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน ๓ ปี
๔. ให้กู้ยืมเงิน (แสดงว่าสามีหรือภริยาสามารถกู้ยืมเงินบุคคลอื่นได้โดยลำพัง)
๕. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
๖. ประนีประนอมยอมความ
๗. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลากการวินิจฉัย
๘. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
ข้อสังเกต สามีภริยาจะตกลงกันในระหว่างสมรสเพื่อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั้ง ๘ ประการข้างต้นไม่ได้ตามมาตรา ๑๔๗๖/๑ so-f� e s - 0�� `�� EN-US;mso-bidi-language:TH'>๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(
๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(
๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ

ตัวอย่างพฤติการณ์ที่เป็นการประพฤติชั่ว
๑. สามีใช้กำลังบังคับข่มขืนใจให้ลูกจ้างยินยอมร่วมประเวณี
๒. สามีชอบเล่นการพนันภริยาห้ามไม่เชื่อ นำทรัพย์สินในบ้านไปจำนำเพื่อเล่นการพนัน เคยถูกต้องคำพิพากษาลงโทษเพราะเล่นการพนัน ถูกผู้บังคับบัยชาเรียกไปตักเตือนและยังไม่เลิกเล่น บางครั้งทำให้เงินไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว เหตุเหล่านี้มารวมประกอบกันเป็นพฤติการณ์ประพฤติชั่วได้
๓. สามีดื่มสุราเป้นอาจิณและทำร้ายร่างกายภริยาบ่อยครั้งเมื่อมึนเมาสุรา
๔. เป็นข้าราชการแต่ไปเที่ยวหญิงบริการโดยถ่ายภาพไว้
๕. สามีหรือภริยาแยกกันอยู่โดยภริยาเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่ด้วยกันกับชายอื่นและไปไหนด้วยกัน

การฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรส
มาตรา ๑๔๗๗ ให้อำนาจสามีหรือภริยาเพียงคนเดียวที่จะฟ้องหรือต่อสู้คดีได้ เพราะถือว่าเป็นการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสอย่างหนึ่ง และหนี้อันเกิดจากการฟ้องหรือต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีดังกล่าวให้ถือว่าหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูหนี้ร่วมกัน
การฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินส่วนตัว สามีหรือภริยามีอำนาจที่จะดำเนินการได้โดยลำพังอยู่ตามปกติ หนี้ที่เกิดจากการนี้จึงถือว่าเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๔/๒๕๓๒ สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่เป็นสินสมรส การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องได้ตามลำพังตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี การที่โจทก์มาทำงานสายและทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ครบตามเวลาที่กำหนด หากเป็นการผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยชอบที่จะลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวได้ หาชอบที่จะเรียกเงินค่าจ้างคืนจากโจทก์ไม่
-
ถ้าสามีหรือภริยาไม่ให้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทนความยินยอมได้
-
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลหรือที่ทำขึ้นในศาลก็ยังต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๔๗๖ (๖) คือ อีกฝ่ายหนึ่งต้องให้ความยินยอมด้วย
-
ถ้ากิจการใดมีกฎหมายบัญญัติว่าให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การที่คู่สมรสให้ความยินยอมในการทำกิจการนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามมาตรา ๑๔๗๙ โดยวิธีการให้ความยินยอมไม่มีรูปแบบพิเศษ แม้เป็นเพียงลงลายมือชื่อเป็นพยานในนิติกรรมหรือสัญญาก็ใช้ได้
-
กรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าให้มีเพียงหลักฐานเป็นหนังสือเท่านั้น สามีภริยาจะให้ความยินยอมเพียงวาจาก็ได้
-
ถ้าสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสที่สำคัญไปโดยลำพัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้
ตัวอย่าง สามีเอาที่ดินสินสมรสไปขายโดยภริยามิได้ยินยอม สัญญาซื้อขายนั้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา ๑๔๘๐ ภริยาจะต้องมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายนั้น แต่ถ้าไม่เพิกถอนสัญญานั้นยังคงใช้ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ เพียงแต่สัญญาไม่สมบูรณ์ในลักษณะที่อาจจะถูกศาลเพิกถอนได้ในภายหลังเท่านั้น
ข้อสังเกต
(
๑) ห้ามมิให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นหากการเพิกถอนดังกล่าวจะไปกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
(
๒) การเพิกถอนจะต้องเพิกถอนทั้งหมดมิใช่เพิกถอนเฉพาะส่วนของคู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอม
(
๓) สิทธิของสามีหรือภริยาในการเพิกถอนนิติกรรมนี้ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว หากสามีหรือภริยาผู้ทรงสิทธิเพิกถอนถึงแก่ความตายสิทธิดังกล่าวตกเป็นมรดก ทายาทจึงอาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้
(
๔) การเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้ว่าได้มีการทำนิติกรรมอันเป็นวันที่รู้เหตุที่เป็นมูลเหตุให้เพิกถอนหรืออย่างช้าภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่ทำนิติกรรมนั้น

การทำพินัยกรรมในส่วนสินสมรส
มาตรา ๑๔๘๑ กำหนดห้ามมิให้ทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น แม้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็ไม่มีผล หากฝ่าฝืนคู่สมรสอีกฝ่ายย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของตนได้
การขอให้แยกสินสมรสหรือขออนุญาตจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว (มาตรา ๑๔๘๔)
เหตุที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาร้องขอต่อศาลมี ๕ ประการ คือ
(
๑) สามีหรือภริยานั้นจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(
๒) ไม่อุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสฝ่ายที่มาร้องขอต่อศาล แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการอุปการะเลี้ยงดูบุตร
(
๓) มีหนี้สินพ้นตัวหรือไปก่อหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสินสมรสที่มีอยู่ ทั้งนี้แม้หนี้สินที่เกิดขึ้นจะมิใช่มาจากความผิดพลาดในการจัดการสินสมรสของสามีหรือภริยาก็ตาม
(
๔) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(
๕) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะนำความหายนะให้แก่สินสมรส
ในการร้องต่อศาล คู่สมรสมีทางเลือกอยู่ ๒ ประการ คือ
๑. ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว
๒. ร้องขอให้ศาลสั่งแยกสินสมรส
ในระหว่างที่ศาลกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาในการร้องขอดังกล่าวอยู่ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก็ได้


หนี้สินของสามีภริยา
๑. หนี้ที่มีมาก่อนสมรส
หนี้ที่สามีภริยามีมาก่อนสมรสก็คงเป็นหน้าที่ฝ่ายนั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นหนี้ระหว่างกันเองมาก่อนสมรสก็ตาม ก็คงยังเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้กันอยู่นั่นเอง
๒. หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส
หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรสอาจจะเป็นหนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นหนี้ร่วมที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้กันก็ได้แล้วแต่กรณี ซึ่งโดยหลักแล้วคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น หนี้ที่ก่อขึ้นก็เป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา ๑๔๙๐ ซึ่งมี ๔ กรณีคือ
(
๑) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(
๒) หนี้เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(
๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(
๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
หนี้ที่สามีภริยาเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันเอง
สามีหรือภริยาอาจเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันเองได้ โดยอาจเป็นก่อนสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้ โดยมาตรา ๑๔๘๗ กำหนดห้ามมิให้สามีหรือภริยาผู้เป็นเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของสามีหรือภริยาผู้เป็นลูกหนี้มาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ของตน

แต่ก็มีข้อยกเว้นให้สามีหรือภริยาผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินกันได้ ดังต่อไปนี้
ก. คดีที่ฟ้องร้องกันเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. หรือที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันได้ เช่น มาตรา ๑๔๖๒ มาตรา ๑๔๖๔ และมาตรา ๑๕๓๐
ข. การยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อไปใช้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาของศาล
ข้อสังเกต ห้ามเฉพาะการที่สามีหรือภริยาจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งมาชำระหนี้เงินตามคำพิพากษาเท่านั้น ถ้าหากเป็นหนี้อย่างอื่นตามคำพิพากษา สามีหรือภริยาก็ขอให้บังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษาได้

หนี้ส่วนตัวของสามีภริยา
เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย โดยจะยึดสินส่วนตัวก่อนสมรสหรือยึดสินสมรสก่อนสินส่วนตัวก็ได้ ไม่ว่าสินส่วนตัวนั้นจะเป็นของฝ่ายใดตามมาตรา ๑๔๘๙ แต่หากเจ้าหนี้ไม่ได้ฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่ความในคดีร่วมด้วย จะนำยึดสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นไม่ได้ แม้จะเป็นลูกหนี้ร่วมก็ตาม เพราะคำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันคู่สมรสที่ไม่ได้ถูกฟ้องคดีตามมาตรา ๑๔๕ วรรคสอง ป.วิ.พ.
สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลีกาที่ ๑๖๘๔ ญ/๒๕๑๑ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย สินสมรสย่อมแยกจากกันโดยอำนาจตามกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย เป็นหน้าที่ของอีกฝ่ายต้องขอกันส่วนของตนไว้

การแยกสินสมรส (มาตรา ๑๔๙๒)
มีผลทำให้สามีภริยาไม่มีสินสมรสอยู่อีกต่อไป คงมีแต่สินส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งมี ๓ กรณี ดังนี้
๑. สามีหรือภริยาถูกศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสเมื่อมีการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด หรือจะทำความเสียหายให้แก่สินสมรสตามมาตรา ๑๔๘๔ วรรคสอง
๒. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายตามมาตรา ๑๔๙๑
๓. ศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสในกรณีที่สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและมีการตั้งบิดา มารดา หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาลตามมาตรา ๑๕๙๘/๒๕๑๗ วรรคสอง
ข้อสังเกต บรรดาทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น สินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือตามมาตรา ๑๔๗๔ (๒) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายละครึ่ง ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้ว ให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินส่วนตัวไม่เป็นสินสมรสตามมาตรา ๑๔๗๔ (๓) อีกต่อไปแล้ว
กรณีที่สามีและภริยาตกลงกันแยกสินสมรสสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสแต่ละฝ่าย เช่นนี้ระบบสินสมรสและสินส่วนตัวก็ยังคงเป็นไปตามปกติ เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสโดยเฉพาะที่แยกเป็นสินส่วนตัวเท่านั้นที่จะมีผลเปลี่ยนแปลงเป็นสินส่วนตัว สินสมรสอื่นๆ ยังเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม และดอกผลของสินส่วนตัวก็ยังคงเป็นสินสมรสอยู่เช่นเดิมด้วย


การยกเลิกการแยกสินสมรส (มาตรา ๑๔๙๒/๑)
-
เมื่อศาลสั่งให้ยกเลิกการแยกสินสมรสแล้ว เฉพาะสินสมรสที่เกิดใหม่เท่านั้นจึงจะเป็นสินสมรส สินสมรสเดิมที่แยกออกเป็นสินส่วนตัวแล้วยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปดังเดิมไม่กลับมาเป็นสินสมรสอีก
-
สินสมรสจะมีขึ้นใหม่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการแยกสินสมรสหรือในวันที่คู่สมรสพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเท่านั้น so-bidi� Q g a 0�� ��� r> ข้อสังเกต ถ้าอยู่ด้วยกันอย่างลักลอบปกปิด หรือแอบหนีจากที่อยู่ตามปกติไปอยู่ที่อื่น เด็กยังคงต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าตนเป็นบุตรของชาย
(
๖) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(
๗) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร


วิธีการในการฟ้องคดี
๑. ถ้าเด็กยังเป็นผู้เยาว์และมีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กซึ่งตามปกติก็คือมารดาเป็นผู้ฟ้องคดีแทนเด็ก
๒. ถ้าเด็กยังเป็นผู้เยาว์แต่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์แล้ว เด็กฟ้องคดีเองได้ และไม่จำเป้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแต่อย่างใด
๓. ถ้าเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ว่าจะด้วยการสมรสหรือมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ฟ้องคดีเองได้แต่ต้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
๔. ถ้าเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว
ผู้สืบสันดานของเด็กฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ ถ้าผู้สืบสันดานก่อนวันที่เด็กตายจะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่เด็กตาย แต่ถ้ารู้เหตุภายหลังที่เด็กตาย จะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้เหตุ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันที่เด็กตาย
การหย่า
การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ
๑. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย
(
๑) ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน ตามมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง
(
๒) ต้องได้มีการจดทะเบียนหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ จึงจะสมบูรณ์
ข้อสังเกต
ก. สามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้อง แต่คู่หย่าอีกฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า คู่สัญญาสามารถฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้หย่าจากกันตามหนังสือหย่าโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ ถ้าศาลบังคับให้หย่าแล้วยังดื้อไม่ไปจด ก็ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ อายุความในการฟ้องคดีมีอายุความ ๑๐ ปี
ข. การหย่ากันหากทำเป็นเพียงหนังสือก็บังคับได้เฉพาะคู่สมีภริยาเท่านั้น แต่จะไปอ้างเหตุให้เสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการจดทะเบียนหย่าแล้ว

๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ มีเหตุ ๑๒ ประการ ดังนี้
๒.๑ สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ
ข้อสังเกต
(
๑) กรณีนี้หมายความเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ถ้าชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ไม่เข้ากรณีนี้
(
๒) ฝ่ายที่มีชู้จะต้องรู้ว่าหญิงหรือชายนั้นมีคู่สมรสแล้ว หากไม่รู้ก็ไม่เรียกว่าเป็นชู้ แต่ถ้าเป็นการข่มขืนกระทำเชาเราแม้จะรู้ก็ไม่ถือว่าเป็นชู้ แต่เป็นการล่วงเกินในทำนองชู้สาวและประพฤติชั่ว
(
๓) การเป็นชู้แม้กระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าแล้วซึ่งต่างจากการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นที่จะต้องกระทำเป็นอาจิณถึงเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
(
๔) การร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณจะต้องเป็นการร่วมเพศตามธรรมชาติ ถ้าทางทวารหนักก็ไม่ใช่ และการที่ชายไปเที่ยวหญิงบริการเป็นประจำก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณแล้ว
(
๕) แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีชู้ แม้จะไม่มีพยานรู้เห็นในเวลาที่ชายหญิงร่วมประเวณีกันแต่ถ้ามีพยานพฤติเหตุแวดล้อม เชื่อได้ว่าชายและหญิงรักใคร่ชอบพอกันในทางชู้สาว ไปอยู่ด้วยกันสองต่อสองในที่ลับซึ่งมีโอกาสจะร่วมประเวณีกันได้ ก็สามารถฟังได้ว่าามีชู้ได้
(
๖) ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามข้อ ๑ นี้ สามีหรือภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนทั้งจากภริยาหรือสามี และจากชายชู้หรือหญิงมีสามีที่ร่วมทำชู้ หรือจากชายอื่นหรือหญิงอื่นที่เป็นเหตุแห่งการหย่านั้นด้วยตามมาตรา ๑๕๒๓
๒.๒ สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าจะมีความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(
๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(
๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(
๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ

ตัวอย่างพฤติการณ์ที่เป็นการประพฤติชั่ว
๑. สามีใช้กำลังบังคับข่มขืนใจให้ลูกจ้างยินยอมร่วมประเวณี
๒. สามีชอบเล่นการพนันภริยาห้ามไม่เชื่อ นำทรัพย์สินในบ้านไปจำนำเพื่อเล่นการพนัน เคยถูกต้องคำพิพากษาลงโทษเพราะเล่นการพนัน ถูกผู้บังคับบัยชาเรียกไปตักเตือนและยังไม่เลิกเล่น บางครั้งทำให้เงินไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว เหตุเหล่านี้มารวมประกอบกันเป็นพฤติการณ์ประพฤติชั่วได้
๓. สามีดื่มสุราเป้นอาจิณและทำร้ายร่างกายภริยาบ่อยครั้งเมื่อมึนเมาสุรา
๔. เป็นข้าราชการแต่ไปเที่ยวหญิงบริการโดยถ่ายภาพไว้
๕. สามีหรือภริยาแยกกันอยู่โดยภริยาเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่ด้วยกันกับชายอื่นและไปไหนด้วยกัน
ตังอย่างพฤติการณ์ที่ไม่เป็นการประพฤติชั่ว
๑. ภริยาไม่ยอมพูดกับสามีเนื่องจากจับได้ว่าสามีไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่น
๒. ภริยาทราบว่าสามีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหญิงอื่น จึงหันมาดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หารเรื่องทะเลาะวิวาท และติดตามควบคุมสามีในที่ทำงาน
๓. ภริยาร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
๔. ภริยาไปเที่ยวกับชายอื่นในเวลากลางคืนโดยไม่ได้ความชัดว่าได้ประพฤติเช่นนั้นเป้นปกติวิสัย และไม่ชัดว่ามีความสัมพันธ์เกินกว่าปกติธรรมดาและไปลำพังเพียงลำพังสองต่อสอง
๕. สามีมีพฤติการณ์ก้าวร้าว ไม่ทำมาหาเลี้ยงครอบครัว และดื่มสุราอันเนื่องมาจากความเครียดเพราะประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเหตุให้ตาบอด

๒.๓ สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นการร้ายแรง
๒.๔ สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ๑ ปี
๒.๕ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร
๒.๖ เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒) แบ่งออกได้เป็น ๒ กรณี คือ
(
๑) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปี
ข้อสังเกต ต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจฝ่ายเดียว
(
๒) แยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเกิน ๓ ปี
๒.๗ สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
๒.๘ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน ๑ ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร
๒.๙ สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๐ สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
๒.๑๑ สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้
๒.๑๒ สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

เหตุหย่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเหตุ ๔ ประการนี้จะอ้างเหตุหย่าไม่ได้ คือ
(
๑) สามีหรือภริยารู้เห็นหรือยินยอมให้ภริยาหรือสามีอุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้น
(
๒) สามีหรือภริยาไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาลเพราะการกระทำของอีกฝ่าย
(
๓) การทำผิดทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
(
๔) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยแล้ว