รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
๑. ชายฟ้องคดีเอง
สามีซึ่งต้องด้วยขอสันนิษฐานว่าเป็นบิดาของเด็กดังกล่าวมีสิทธิจะปฏิเสธไม่ยอมรับเด็กเป็นบุตรของตนได้โดยการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรมีวิธีการฟ้องดังนี้ (มาตรา ๑๕๓๙)
๑.๑ ถ้าเด็กและมารดาเด็กยังมีชีวิตอยู่ต้องฟ้องเด็กและมารดาเด็กเป็นจำเลยร่วมกัน
๑.๒ ถ้ามารดาเด็กไม่มีชีวิตอยู่แล้ว จะฟ้องเด็กแต่ผู้เดียวเป็นจำเลยก็ได้
๑.๓ ถ้าเด็กไม่มีชีวิตอยู่ไม่ว่ามารดาของเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตรก็ได้
ข้อสังเกต
(
๑) หน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี
(
๒) การนำสืบไม่จำเป็นต้องพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัย เพียงแต่พิสูจน์ให้เป็นคุณแก่
ตน และอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถนำสืบหักล้างได้ก็เพียงพอแล้ว
(
๓) การพิสูจน์ต้องพิสูจน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(
๓.๑) ตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์ (๑๘๐-๓๑๐ วัน)
(
๓.๒) ตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่น เช่น เป้นหมั้น ตรวจเลือด หรือตรวจดีเอ็นเอ เป็นต้น
ข้อสังเกต เพียงแต่พิสูจน์ได้ว่าภริยาตัวเองมีชู้ ยังไม่ถือว่าตนไม่อาจเป็นบิดาของเด็กได้

ข้อยกเว้นที่ห้ามชายมิให้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร (มาตรา ๑๕๔๑)
๑. เป็นผู้แจ้งเกิดในทะเบียนเกิดว่าเป็นบุตรของตน
๒. จัดให้มีการแจ้งการเกิด
๓. ยอมให้มีการแจ้งเกิดดังกล่าว

ระยะเวลาในการฟ้องคดี (มาตรา ๑๕๔๒)
ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก

๒. ทายาทผู้มีส่วนได้เสียฟ้องคดีแทน (มาตรา ๑๕๔๔)
ทายาทผู้มีส่วนได้เสียของชาย ฟ้องคดีแทนชายได้หากชายถึงแก่ความตายไปเสียก่อน แต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับเด็กหรือเป็นผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก โดยจะฟ้องได้ใน ๒ กรณี คือ
(
๑) ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะพึงฟ้องได้
(
๒) เด็กเกิดภายหลังการตายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
ในกรณี (๑) ต้องฟ้องภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่รู้ถึงการตายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามี การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณี (๒) ต้องฟ้องภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่รู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ไม่ว่าเป็นกรณีใด ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่วันเกิดของเด็ก

๓. การฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
-
คดีนี้ถือว่าเป็นคดีที่บุตรฟ้องบุพการีอันเป็นคดีอุทลุม
-
เด็กฟ้องคดีเองไม่ได้แต่จะต้องร้องขอให้อัยการเป็นผู้ดำเนินการฟ้องคดีแทน ถ้าเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากมารดาก่อนตามหลักทั่วไป
-
กรณีมารดาไม่ยินยอมเด็กต้องรอให้ตนบรรลุนิติภาวะ แล้วจะต้องร้องขอให้อัยการฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น ๑๐ ปี นับแต่วันที่เด็กเกิดบรรลุนิติภาวะ



การทำให้บุตรที่เกิดนอกสมรสกลายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา (มาตรา ๑๕๔๗)
๑. บิดามารดาสมรสกันในภายหลัง
ข้อสังเกต มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่บุตรเกิด ดังนั้น หากในวันที่บิดามารดาสมรสกันนี้ บุตรได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว บุตรของบุตรที่ตายไปก็มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดา (บุตรที่ตาย) ของตนได้
๒. บิดาจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
ข้อสังเกต
(
๑) ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งสองจะต้องให้ความยินยอมด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน
(
๒) กรณีเด็กหรือมารดาคัดค้านว่าไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้จดทะเบียนได้ (แสดงว่าถ้าเด็กตายก็จดทะเบียนได้โดยให้ศาลสั่ง)
(
๓) การไปแจ้งในสูติบัตรหรือทะเบียนสำมะโนครัวว่าเด็กเป็นบุตรของตนไม่ใช่เป็นการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
(
๔) ภายหลังจดทะเบียนหากปรากกว่ามิใช่เป็นบิดาที่แท้จริงก็มีการเพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้ตามมาตรา ๑๕๕๔
๓. การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การฟ้องขอรับเด็กเป็นบุตร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๑๕๕๕ วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย
(
๑) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(
๒) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(
๓) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(
๔) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
ข้อสังเกต หากมารดาของเด็กไปแจ้งการเกิดของเด็กเองโดยอ้างว่าเด็กเป็นบุตรของชาย อย่างนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อนี้
(
๕) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
ข้อสังเกต ถ้าอยู่ด้วยกันอย่างลักลอบปกปิด หรือแอบหนีจากที่อยู่ตามปกติไปอยู่ที่อื่น เด็กยังคงต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าตนเป็นบุตรของชาย
(
๖) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(
๗) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร


วิธีการในการฟ้องคดี
๑. ถ้าเด็กยังเป็นผู้เยาว์และมีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กซึ่งตามปกติก็คือมารดาเป็นผู้ฟ้องคดีแทนเด็ก
๒. ถ้าเด็กยังเป็นผู้เยาว์แต่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์แล้ว เด็กฟ้องคดีเองได้ และไม่จำเป้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแต่อย่างใด
๓. ถ้าเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ว่าจะด้วยการสมรสหรือมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ฟ้องคดีเองได้แต่ต้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
๔. ถ้าเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว
ผู้สืบสันดานของเด็กฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ ถ้าผู้สืบสันดานก่อนวันที่เด็กตายจะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่เด็กตาย แต่ถ้ารู้เหตุภายหลังที่เด็กตาย จะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้เหตุ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันที่เด็กตาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น