รูป

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ความผิดอาญาฐานฟอกเงิน
กฎหมายนี้ได้ทำให้เกิดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ฐานฟอกเงิน ซึ่งเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังขณะการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ
(2) กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะ ที่แท้จริง การได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

ความผิดมูลฐาน
ความผิดฐานฟอกเงินต้องเป็นการกระทำต่อเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเพียงบางประเภทเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า ความผิดมูลฐาน(ปัจจุบันมี 23 ฐาน) ได้แก่
1. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
2. ความผิดเกี่ยวกับเพศ (เช่น การค้าประเวณีหญิงและเด็ก)
3. ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน
4. ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือการฉ้อโกงทางธุรกิจในสถาบันการเงิน
5. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือ ในการยุติธรรม
6. ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชกหรือรีดทรัพย์
7. ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร
8. ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

ผลกระทบของการฟอกเงิน
- บางท่านอาจจะคิดว่าการฟอกเงินไม่เกี่ยวข้องกับคนทั่วๆ ไปเลย และเป็นเรื่องของผู้ร้าย เช่น นักค้ายาเสพติด เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล หรือผู้ประกอบอาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ เท่านั้น
          - ความจริงการฟอกเงิน ที่กระทำโดยองค์กรอาชญากรรมมีผลกระทบต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง เงินที่ฟอกจะถูกใช้ในการค้าขายยาเสพติด การก่อการร้าย การค้าอาวุธและประกอบอาชญากรรมอย่างอื่น หรือแม้แต่การทุจริต ติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือนักการเมือง ทำให้การแผ่ขยายอาณาจักรขององค์กรเหล่าร้าย เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและยากแก่การสกัดกั้นเป็นปัญหา ของประชาคมโลก
 - ในทางเศรษฐศาสตร์เงินสกปรกที่นำมาในธุรกิจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และตัวเลขแสดงฐานะทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนไม่ตรงความเป็นจริง เพราะมีการนำเงินสกปรกเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ทั้งที่เงินเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต หรือการสร้างงานที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาเลย
          - นอกจากผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว การมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับยาเสพติดหรือการฟอกเงิน ย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ เปรียบเสมือนปลาเน่าตัวเดียว ที่อาจทำให้เหม็นไปทั้งข้อง แม้ประเทศนั้นจะมีสิ่งดึงดูดใจทางวัฒนธรรม ประเพณี หรือแหล่งท่องเที่ยวมากมายก็ตาม
ปัจจุบัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน มีหลัก ๆ 2 ฉบับ
1. พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยหลักการกำหนดให้ สำนักงาน ป.ป.ง. มีอำนาจ จัดทำบัญชีผู้ก่อการร้าย ภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ และคำรับรองของรัฐบาลไทย
2. พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฉบับใหม่ มีการเพิ่มความผิดมูลฐาน เป็น 23 ฐาน ได้แก่ การปลอม หรือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ความผิดของ ผู้จ้าง จัดหา ผู้จะกระทำผิดต่อชีวิต และร่างกายถึงอันตรายสาหัส ความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว ความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์

สรุป ความผิดเกี่ยวกับฐานที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงินได้แก่
1. ความผิดเกี่ยวกับการเข้าร่วมองค์กรอาชญากรรม
2. ความผิดฐานก่อการร้าย
3. ความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีหญิงและเด็ก
4. ความผิดเกี่ยวกับการค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
5. ความผิดเกี่ยวกับการค้าอาวุธ
6. ความผิดเกี่ยวกับการค้าของโจรและสินค้าอื่น
7. ความผิดเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นและการรับสินบน
8. ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง
9. ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเงินตรา
10. ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้า
11. ความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
12. ความผิดเกี่ยวกับการฆาตกรรมและการทำร้ายร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายสาหัส
13. ความผิดเกี่ยวกับการลักพาตัว การกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และการจับตัวประกัน
14. ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์
15. ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้าสินค้า
16. ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์
17. ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสาร
18. ความผิดเกี่ยวกับโจรสลัด
19. ความผิดฐานลักลอบค้าอาวุธสงคราม 
20. ความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
21. ความผิดฐานการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย
22. การค้ามนุษย์
23. การลักลอบเข้าเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น