รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ผลของการที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร
๑. เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรของชายแล้ว เด็กก็มีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันที่เด็กเกิด
๒. จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาที่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรไม่ได้
๓. การจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ที่บุตรเกิด แต่เนื่องจากสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูมีอายุความ ๕ ปี จึงย้อนหลังได้เพียง ๕ ปี เท่านั้น
๔. การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร หากก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายหรือฟ้องภายหลังที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว โดยปกติต้องฟ้องภายในอายุความมรดกคือ ๑ ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย แต่หากศาลได้มีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม และถ้าได้มีการแบ่งมรดกของผู้ตายไปแล้ว ก็ให้นำเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร
(
๑) สิทธิของบุตรในชื่อสกุล
(
๒) สิทธิของบุตรในสัญชาติไทยตามบิดามารดา
(
๓) บุตรจะฟ้องบุพการีไม่ได้
ข้อสังเกต
(
๓.๑) ห้ามทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
(
๓.๒) ห้ามพาะผู้สืบสันดานไม่ห้ามบุพการี
(
๓.๓) บุพการีและผู้สืบสันดานถือตามกฎหมาย
(
๔) บุตรและบิดามารดาต่างมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกัน
(
๔.๑) บุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
(
๔.๒) บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
บุตรจะฟ้องเองไม่ได้ ต้องร้องขอให้อัยการว่าคดีให้ หรืออาจเป็นบิดาหรือมารดาฟ้องอีกฝ่ายที่ไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามหน้าที่ (ไม่ใช่ฟ้องในนามของบุตรหรือในฐานะผู้แทนของบุตร แต่ฟ้องในฐานะของตนเองเป็นบิดาหรือมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร)
ข้อสังเกต มารดาหรือบิดาที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ต้องดำเนินการโดยในฐานะญาติสนิทไปขอให้อัยการฟ้องคดีให้แทนตามมาตรา ๑๕๖๒
(
๕) บุตรอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดา มารดา
(
๕.๑) อำนาจปกครองอยู่กับบิดามารดา

โดยปกติอำนาจปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะอยู่กับบิดาและมารดา แต่มีกรณีพิเศษที่ทำให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว ได้แก่
๑. มารดาหรือบิดาตาย
๒. ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
๓. มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
๔. มารดาหรือบิดาต้องเข้ารัษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
๕. ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
๖. บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
๗. บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย (เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว)
๘. เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น อำนาจปกครองที่มีต่อบุตรอยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมาเพียงคนเดียวเท่านั้น คู่สมรสของบุคคลที่มีบุตรติดมาไม่ได้อำนาจปกครองบุตรด้วย


สิทธิทั่วไปของผู้ใช้อำนาจปกครอง
(
๑) สิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
(
๒) สิทธิทำโทษตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(
๓) สิทธิที่จะให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(
๔) สิทธิเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรโดยอำนาจของกฎหมายตามมาตรา ๑๕๖๙
การแจ้งหรือรับแจ้งคำบอกกล่าวหรือการก่อหนี้แทนบุตร (มาตรา ๑๕๗๐)
หลัก คำบอกกล่าวที่ผู้ใช้อำนาจปกครองแจ้งไปหรือรับแจ้งมาให้ถือว่าเป็นคำบอกกล่าวที่บุตรได้แจ้งไปหรือรับแจ้งมา
ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นตัวแทนบุตรและมีอำนาจทำการใดๆ รวมทั้งทำนิติกรรมแทนบุตรได้ แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำเองไม่ได้แต่ต้องได้รับความยินยอมของบุตรก่อนจึงจะทำได้ตามมาตรา ๑๕๗๒


การจัดการทรัพย์สินของบุตร
-
ต้องจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ จะใช้ความระมัดระวังในระดับที่ตนเคยประพฤติปฏิบัติในกิจการของตนไม่ได้ (มาตรา ๑๕๗๑)
-
นอกจากการจัดการทรัพย์สินแล้วยังรวมถึงอำนาจในการจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันในทรัพย์สิน และอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของบุตรด้วย
-
ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วนที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ (มาตรา ๑๕๗๓)
ข้อสังเกต เงินได้ หมายถึง เงินที่บุตรได้รับจากการประกอบอาชีพและเงินอันเป็นดอกผลที่งอกเงยจากทรัพย์สินหรือเงินทุนอันได้มาจากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น