รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดการทรัพย์สินที่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน (มาตรา ๑๕๗๔)
หากฝ่าฝืนนิติกรรมนั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์เพราถือว่าเป็นนิติกรรมที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แต่นิติกรรมดังกล่าวไม่เป็นโมฆะหรือโมฆียะ จึงมีผลผูกพันบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเป้นการส่วนตัว
ข้อสังเกต ผู้ใชช้อำนาจปกครองจะเลี่ยงโดยใช้วิธีอนุญาตให้ผู้เยาว์ทำเองก็ไม่สามารถทำได้


นิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงจะสามารถทำได้นั้น มีอยู่ ๑๔ ประการ คือ
(
๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
ข้อสังเกต คุ้มครองเฉพาะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ สังหาริมทรัพย์อื่นไม่อยู่ในข้อบังคับนี้
(
๒) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(
๓) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(
๔) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(
๕) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(
๖) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
(
๗) ให้กู้ยืมเงิน
ข้อสังเกต ไม่ห้ามกรณีไปกู้เงินบุคคลอื่นมาใช้เพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ ดังนั้น เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไปกู้เงินมาใช้เพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์แล้ว บุตรผู้เยาว์นั้นก็ต้องรับผิดต่อผู้กู้
(
๘) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศล สาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(
๙) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(
๑๐) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(
๑๑) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีดังต่อไปนี้
(
๑๑.๑) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน
(
๑๑.๒) รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝากหรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(
๑๑.๓) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
(
๑๒) ประนีประนอมยอมความ
(
๑๓) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(
๑๔) เข้าทำกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองหรือคู่สมรสหรือบุตรขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์
ข้อสังเกต ประโยชน์ตาม (๑๔) หมายความรวมถึงประโยชน์ในกิจการต่อไปนี้ด้วยคือ
ก. ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลนั้นเป็นหุ้นส่วน
ข. ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลนั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น