รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

- การทำสัญญาก่อนสมรสอาจจะดำเนินการได้ดังนี้
(
๑) จดแจ้งสัญญาไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ
(
๒) ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อย ๒ คน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส พร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรสในขณะจดทะเบียนสมรสว่ามีสัญญาแนบท้าย
ถ้าไม่ทำตามแบบที่กำหนด สัญญานั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๖๖
-
การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสจะทำไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากศาล หากฝ่าฝืนก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรสนั้นแต่อย่างใด และแม้จะมีข้อตกลงในสัญญาก่อนสมรสโดยชัดแจ้งให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนได้ ข้อตกลงดังกล่าวก็ใช้บังคับไม่ได้เพราะขัดต่อมาตรา ๑๔๖๗
-
การเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล จำกัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาภายหลังเมื่อทำการสมรสแล้ว ถ้าก่อนการสมรสคู่สมรสต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลแต่อย่างใด
-
ผลสัญญาก่อนสมรสต่อบุคคลภายนอก ให้ถือตามระบบทรัพย์สินของสามีภริยาตามกฎหมายเช่นกรณีปกติตามมาตรา ๑๔๖๘
๒.๒ สัญญาระหว่างสมรสในเรื่องทรัพย์สิน
-
การทำสัญญาระหว่างสมรสไม่ได้กำหนดแบบไว้เป็นพิเศษเหมือนกับสัญญาก่อนสมรส
-
ห้ามทำสัญญาระหว่างสมรสในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสที่สำคัญที่สามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกัน เช่น สามีและภริยาจะทำสัญญาระหว่างสมรสให้ภริยามีอำนาจจำนองที่ดินที่เป็นสินสมรสแต่ผู้เดียวอันแตกต่างจากมาตรา ๑๔๗๖ ไม่ได้ สัญญาดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ เป็นต้น
-
สามีหรือภริยาบอกล้างสัญญาได้ แต่จะบอกล้างได้เฉพาะสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น โดยจะต้องบอกล้างในเวลาที่เป็นสามีภริยาหันอยู่หรือภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยทุจริต
-
สัญญาที่ไปเกี่ยวกับทรัพย์สินอาจเสื่อมเสียไปด้วยเหตุอื่นตามหลักในสัญญาทั่วไป เช่น เป็นโมฆียะเพราะสำคัญผิด เป็นต้น
-
แม้สัญญานั้นจะได้ทำมาเกิน ๑๐ ปีแล้ว สามีหรือภริยาก็ยังมีสิทธิบอกล้างได้
-
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิบอกล้างไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมรดกผู้ตาย ทายาทจึงไม่มีสิทธิบอกล้าง
-
ผลของการบอกล้างในระหว่างสามีภริยาทำให้สัญญานั้นสิ้นความผูกพันเสมือนหนึ่งว่าสามีภริยาไม่เคยทำสัญญาไว้ต่อกันเลย จะบังคับกันไม่ได้ถ้าได้มีการโอนทรัพย์สินกันไปแล้วก็ต้องโอนกลับคืน และถ้ามีการจดทะเบียนก็ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนด้วย แต่การบอกนั้นกระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต โดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๓๙/๒๕๔๔ บันทึกที่โจทก์จำเลยทำขึ้น แม้จะมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อข้อตกลงนั้นมีส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยาหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๙ การที่จำเลยยื่นคำให้การว่าบอกเลิกข้อตกลงแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างไปในตัว ในขณะยังเป็นสามีภริยากันอยู่ จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
๒.๓ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
(
๑) สินส่วนตัว (ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)
(
๒) สินสมรส (ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างคู่สมรสทั้งสองฝ่าย)


๑. สินส่วนตัว (มาตรา ๑๔๗๑)
แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑.๑ ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
-
ได้ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนสมรส แม้จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ภายหลังสมรสแล้วก็ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ จึงถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัว
-
ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาร่วมกันก่อนสมรส แม้สมรสแล้วก็ไม่ทำให้เป็นสินสมรสแต่อย่างใด แต่คงเป็นสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม
-
ทรัพย์สินที่คู่สมรสเป็นเจ้าของรวมกับคนอื่นอยู่ก่อนสมรส แม้จะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกับเจ้าของรวมคนอื่นในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น
๑.๒ ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะหรือเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
๑.๓ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
๑.๔ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
ของแทนสินส่วนตัว
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น