รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น
๑. ค่าทดแทนที่คู่หมั้นเรียกจากกันในกรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น
เหตุที่ทำให้ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนจะต้องเกิดขึ้นหลังการหมั้น หากเกิดขึ้นก่อนทำสัญญาหมั้นก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ คู่สัญญาหมั้นมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างว่ามีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้น จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
๒. ค่าทดแทนจากชายอื่นหรือหญิงอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นหรือชายคู่หมั้นทางประเวณี
๒.๑ กรณีที่คู่หมั้นยินยอมร่วมประเวณีกับชายอื่นหรือหญิงอื่นนั้น
(
๑) เรียกค่าทดแทนได้ต่อเมื่อชายหรือหญิงคู่หมั้นได้ บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา ๑๔๔๒ หรือมาตรา ๑๔๔๓ แล้ว
(
๒) ชายอื่นหรือหญิงอื่นจะต้องรู้หรือควรรู้ว่าชายหรือหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว
ข้อสังเกต
ก. กรณีหญิงคู่หมั้นร่วมประเวณีกับชายอื่น นอกจากชายคู่หมั้นจะมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นได้แล้ว อาจเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นได้โดยอ้างเหตุว่าเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง
ข. หญิงคู่หมั้นเพียงแต่ยินยอมให้กอดจูบลูบคลำยังไม่ถึงขั้นให้ร่วมประเวณี ชายคู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นไม่ได้ แต่อาจเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นได้ โดยถือว่าเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรง
๒.๒ กรณีบุคคลอื่นข่มขืนหรือพยายามข่มขืนการกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นหรือชายคู่หมั้น
(
๑) คู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นด้วย
(
๒) ไม่ใช่เป็นเรื่องของการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง คู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงคู่หมั้นหรือชายคู่หมั้นไม่ได้ตามมาตรา ๑๔๔๔ ไม่ได้
(
๓) คู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากบุคคลอื่นที่มาข่มขืนหรือพยายามข่มขืนคู่หมั้นตนได้ บุคคลอื่นนั้นจะต้องรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงหรือชายมีคู่หมั้นแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคู่หมั้นเป็นใคร

ข้อสังเกต การเรียกค่าทดแทนจากบุคคลอื่นที่มาล่วงเกินคู่หมั้นทางประเวณีตามมาตรา ๑๔๔๕ และ ๑๔๔๖ หมายความเฉพาะเพศตรงข้ามกับชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้น (แสดงว่าไม่ถือตามประมวลกฎหมายอาญา)
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนในเรื่องการหมั้น นอกจากค่าทดแทนตามมาตรา ๑๔๔๐ (๒) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือหรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
อายุความในเรื่องการหมั้นกฎหมายกำหนดไว้เพียง ๖ เดือน นับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เป็นต้นไป แต่การเรียกร้องสินสอดคืน กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้ จึงใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามหลักกฎหมายทั่วไป

การสมรส
หลักเกณฑ์การสมรส มีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเปินหญิง
๒. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายและหญิงสมรสกันโดยไม่ได้เกิดจากความยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
๓. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต
๔. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว

งื่อนไขการสมรส
๑. ชายและหญิงต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็น
โมฆียะตามมาตรา ๑๕๐๓
๒. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
๓. ญาติสนิทสมรสกันไม่ได้ ญาติสนิทมี ๔ ประเภท คือ
(
๑) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
(
๒) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
(
๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(
๔) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา
ผลของการฝ่าฝืนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕
ข้อสังเกต ญาติสนิทถือตามความเป็นจริง
๔. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นก็ยังคงสมบูรณ์ มีผลเพียงการรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตามมาตรา ๑๔๕๑ เท่านั้น
๕. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนเป้นการสมรสซ้อนทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ 
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น