รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การทำพินัยกรรมในส่วนสินสมรส
มาตรา ๑๔๘๑ กำหนดห้ามมิให้ทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น แม้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็ไม่มีผล หากฝ่าฝืนคู่สมรสอีกฝ่ายย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของตนได้
การขอให้แยกสินสมรสหรือขออนุญาตจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว (มาตรา ๑๔๘๔)
เหตุที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาร้องขอต่อศาลมี ๕ ประการ คือ
(
๑) สามีหรือภริยานั้นจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(
๒) ไม่อุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสฝ่ายที่มาร้องขอต่อศาล แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการอุปการะเลี้ยงดูบุตร
(
๓) มีหนี้สินพ้นตัวหรือไปก่อหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสินสมรสที่มีอยู่ ทั้งนี้แม้หนี้สินที่เกิดขึ้นจะมิใช่มาจากความผิดพลาดในการจัดการสินสมรสของสามีหรือภริยาก็ตาม
(
๔) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(
๕) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะนำความหายนะให้แก่สินสมรส
ในการร้องต่อศาล คู่สมรสมีทางเลือกอยู่ ๒ ประการ คือ
๑. ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียว
๒. ร้องขอให้ศาลสั่งแยกสินสมรส
ในระหว่างที่ศาลกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาในการร้องขอดังกล่าวอยู่ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก็ได้


หนี้สินของสามีภริยา
๑. หนี้ที่มีมาก่อนสมรส
หนี้ที่สามีภริยามีมาก่อนสมรสก็คงเป็นหน้าที่ฝ่ายนั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นหนี้ระหว่างกันเองมาก่อนสมรสก็ตาม ก็คงยังเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้กันอยู่นั่นเอง
๒. หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส
หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรสอาจจะเป็นหนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นหนี้ร่วมที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้กันก็ได้แล้วแต่กรณี ซึ่งโดยหลักแล้วคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น หนี้ที่ก่อขึ้นก็เป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา ๑๔๙๐ ซึ่งมี ๔ กรณีคือ
(
๑) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(
๒) หนี้เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(
๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(
๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
หนี้ที่สามีภริยาเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันเอง
สามีหรือภริยาอาจเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันเองได้ โดยอาจเป็นก่อนสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้ โดยมาตรา ๑๔๘๗ กำหนดห้ามมิให้สามีหรือภริยาผู้เป็นเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของสามีหรือภริยาผู้เป็นลูกหนี้มาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ของตน

แต่ก็มีข้อยกเว้นให้สามีหรือภริยาผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินกันได้ ดังต่อไปนี้
ก. คดีที่ฟ้องร้องกันเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. หรือที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันได้ เช่น มาตรา ๑๔๖๒ มาตรา ๑๔๖๔ และมาตรา ๑๕๓๐
ข. การยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อไปใช้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาของศาล
ข้อสังเกต ห้ามเฉพาะการที่สามีหรือภริยาจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งมาชำระหนี้เงินตามคำพิพากษาเท่านั้น ถ้าหากเป็นหนี้อย่างอื่นตามคำพิพากษา สามีหรือภริยาก็ขอให้บังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษาได้

หนี้ส่วนตัวของสามีภริยา
เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย โดยจะยึดสินส่วนตัวก่อนสมรสหรือยึดสินสมรสก่อนสินส่วนตัวก็ได้ ไม่ว่าสินส่วนตัวนั้นจะเป็นของฝ่ายใดตามมาตรา ๑๔๘๙ แต่หากเจ้าหนี้ไม่ได้ฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่ความในคดีร่วมด้วย จะนำยึดสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นไม่ได้ แม้จะเป็นลูกหนี้ร่วมก็ตาม เพราะคำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันคู่สมรสที่ไม่ได้ถูกฟ้องคดีตามมาตรา ๑๔๕ วรรคสอง ป.วิ.พ.
สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลีกาที่ ๑๖๘๔ ญ/๒๕๑๑ สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย สินสมรสย่อมแยกจากกันโดยอำนาจตามกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย เป็นหน้าที่ของอีกฝ่ายต้องขอกันส่วนของตนไว้

การแยกสินสมรส (มาตรา ๑๔๙๒)
มีผลทำให้สามีภริยาไม่มีสินสมรสอยู่อีกต่อไป คงมีแต่สินส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งมี ๓ กรณี ดังนี้
๑. สามีหรือภริยาถูกศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสเมื่อมีการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด หรือจะทำความเสียหายให้แก่สินสมรสตามมาตรา ๑๔๘๔ วรรคสอง
๒. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายตามมาตรา ๑๔๙๑
๓. ศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสในกรณีที่สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและมีการตั้งบิดา มารดา หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาลตามมาตรา ๑๕๙๘/๒๕๑๗ วรรคสอง
ข้อสังเกต บรรดาทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น สินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือตามมาตรา ๑๔๗๔ (๒) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายละครึ่ง ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้ว ให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินส่วนตัวไม่เป็นสินสมรสตามมาตรา ๑๔๗๔ (๓) อีกต่อไปแล้ว
กรณีที่สามีและภริยาตกลงกันแยกสินสมรสสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะให้เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสแต่ละฝ่าย เช่นนี้ระบบสินสมรสและสินส่วนตัวก็ยังคงเป็นไปตามปกติ เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสโดยเฉพาะที่แยกเป็นสินส่วนตัวเท่านั้นที่จะมีผลเปลี่ยนแปลงเป็นสินส่วนตัว สินสมรสอื่นๆ ยังเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม และดอกผลของสินส่วนตัวก็ยังคงเป็นสินสมรสอยู่เช่นเดิมด้วย


การยกเลิกการแยกสินสมรส (มาตรา ๑๔๙๒/๑)
-
เมื่อศาลสั่งให้ยกเลิกการแยกสินสมรสแล้ว เฉพาะสินสมรสที่เกิดใหม่เท่านั้นจึงจะเป็นสินสมรส สินสมรสเดิมที่แยกออกเป็นสินส่วนตัวแล้วยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปดังเดิมไม่กลับมาเป็นสินสมรสอีก
-
สินสมรสจะมีขึ้นใหม่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการแยกสินสมรสหรือในวันที่คู่สมรสพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเท่านั้น so-bidi� Q g a 0�� ��� r> ข้อสังเกต ถ้าอยู่ด้วยกันอย่างลักลอบปกปิด หรือแอบหนีจากที่อยู่ตามปกติไปอยู่ที่อื่น เด็กยังคงต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าตนเป็นบุตรของชาย
(
๖) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(
๗) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร


วิธีการในการฟ้องคดี
๑. ถ้าเด็กยังเป็นผู้เยาว์และมีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กซึ่งตามปกติก็คือมารดาเป็นผู้ฟ้องคดีแทนเด็ก
๒. ถ้าเด็กยังเป็นผู้เยาว์แต่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์แล้ว เด็กฟ้องคดีเองได้ และไม่จำเป้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแต่อย่างใด
๓. ถ้าเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ว่าจะด้วยการสมรสหรือมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ฟ้องคดีเองได้แต่ต้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
๔. ถ้าเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว
ผู้สืบสันดานของเด็กฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ ถ้าผู้สืบสันดานก่อนวันที่เด็กตายจะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่เด็กตาย แต่ถ้ารู้เหตุภายหลังที่เด็กตาย จะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้เหตุ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันที่เด็กตาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น