รูป

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การหมั้น



การหมั้น
เงื่อนไขของการหมั้น มีอยู่ ๒ ประการ
๑. อายุของคู่หมั้น (มาตรา ๑๔๓๕) ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุอ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ
๒. ความยินยอมของบิดามารดา (ได้รับความยินยอมทั้งบิดาและมารดาแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๔๓๖) การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลดังกล่าวเป็นโมฆียะ

แบบของสัญญาสัญญาหมั้น
หลัก การหมั้นต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ (มาตรา ๑๔๓๗)
การหมั้น จะต้องเป็นการที่มีการนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง แต่หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ก็จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที

กรณีของหมั้นเป็นขอบบุคคลภายนอกมีข้อพิจารณา ดังนี้
(
๑) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้นและเจ้าของไม่ยินยอมอนุญาตให้ยืมเอาไปเป็นของหมั้น เจ้าของนั้นมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา ๑๓๓๐ แต่ถ้าเป้นเงินตราและหญิงคู่หมั้นรับไว้โดยสุจริตแล้ว เจ้าของเงินตรามาเอาคืนไม่ได้ เพราะสิทธิของหญิงคู่หมั้นที่ได้เงินตรามาโดยสุจริตไม่เสียไปตามมาตรา ๑๓๓๑
(
๒) ถ้าทรัพย์สินที่นำไปเป็นของหมั้น เจ้าของทรัพย์สินให้ยืมไปทำการหมั้น แม้จะตกลงให้ยืมชั่วคราว เมื่อหญิงไม่รู้เรื่องด้วยแล้ว ของหมั้นนั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิงคู่หมั้น
ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายยกให้หญิงไม่ใช่ในฐานะเป็นสินสอดหรือของหมั้น หากหญิงผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน

ลักษณะสำคัญของของหมั้น
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน
๒. ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
๓. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
๔. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมมรส (ถ้าให้หลังสมรสก็ไม่ใช่ของหมั้น)

คู่สํญญาที่จะต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น
๑. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น
๒. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น
๓. บุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น

สินสอด
ลักษณะของสินสอด
(
๑) ต้องเป็นทรัพย์สิน
(
๒) ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง
(
๓) ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
สินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงทำการหมั้นและสมรสกันได้โดยไม่ต้องมีสินสอด แต่ถ้าได้มีการตกลงกันว่าจะให้สินสอดแก่กัน ฝ่ายหญิงย่อมฟ้องเรียกสินสอดได้
การที่หญิงยอมสมรสถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ดังนั้น ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเรียกสินสอดกันได้ใน ๒ กรณี
๑. กรณีไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง
๒. กรณีไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากกรณีที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นตายก่อนจดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอด (มาตรา ๑๔๔๑)
อายุความฟ้องเรียกสินสอดคืนใช้อายุความ ๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐

วิธีการในการคืนของหมั้น
๑. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนเงินเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกคืนโดยสุจริต (มาตรา ๔๑๒) ดังนั้น การคืนเงินตราจึงคืนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ประโยชน์หรือดอกเบี้ยเพิ่มพูนจากการที่นำเงินนั้นไปลงทุนจึงไม่ต้องคืน แต่ฝ่ายชายอาจเรียกดอกเบี้ยในเงินต้นได้นับแต่วันฟ้องคดีเพราะถือว่าฝ่ายหญิงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาที่เรียกคืนนั้นแล้ว
๒. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงต้องคืนทรัพย์สินในสภาพที่เป็นสภาพที่เป็นอยู่ ณ เวลาที่เกรียกคืน ดังนั้น หากทรัพย์สินสูญหายหรือบุบสลายก็ไม่ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องหรือบุบสลายนั้น และหากทรัพย์สินนั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเพราะฝ่ายหญิงได้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายนันจากฝ่ายชายได้ด้วย 
ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อย่างอื่นหรือซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัว หรือขายสินส่วนตัวและได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม
-
กรณีที่ทรัพย์สินหายเงินที่มาแทนทรัพย์สินส่วนตัวนี้ถูกนำไปรวมกับสินสมรสแล้วเกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ จึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของสามีหรือภริยาตามสัดส่วนของสินส่วนตัวและสินสมรสในทรัพย์สินใหม่นั้น
-
สินส่วนตัวถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นเงินที่ได้มานั้น เป็นสินส่ววตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น